ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

สัตว์ต่าง ๆในโลกนี้มีกี่ชนิด?

สัตว์ต่าง ๆในโลกนี้มีกี่ชนิด?
สัตว์ในโลกนี้มีหลายสปีชีย์มาก ถ้าคุณให้แยกจำนวน แยกชนิด สงสัยคุณต้องเปิดเวบไซด์ให้ตอบเลยค่ะ เพราะแค่กรอบนี้คงไม่พอ อิอิ คำตอบประมาณสมุดหน้าเหลืองเลยค่ะ อ่านไหวมั๊ยคะ มีแค่1.7ล้านชนิดเอง
อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่น สามารถ สังเกตเห็นได้ชัด เนื่องจากสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว และมีขนาดหรือรูป ร่างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการเจริญเติบโตอย่างชัดเจน ในปัจจุบันมี สัตว์มากมายหลายล้านสปีชีย์ บางชนิดก็ให้ประโยชน์และบางชนิดก็ให้โทษต่อสิ่ง มีชีวิตอื่น ๆ และมนุษย์
สัตว์มีลักษณะสำคัญ ได้แก่
1. ประกอบด้วยเซลล์ประเภทยูคารีโอตเซลล์ (Eucaryotic Cell) เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญภายในเซลล์
2. ประกอบด้วยเซลล์จำนวนหลายเซลล์ รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) หรือเป็น อวัยวะ (organ) ต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งได้
3. ไม่มีผนังเซลล์ และไม่มีคลอโรพลาสต์ ดังนั้นจึงไม่สามารถสร้างอาหาร เองได้โดยขบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงเรียก ว่า Heterotrophic organism (Heterotroph)
4. ดำรงชีพโดยการเป็นผู้บริโภค คือ ต้องอาศัยสารอินทรีย์จากสิ่งมี ชีวิตชนิดอื่น โดยการกิน อาจจะกินพืช กินสัตว์ หรือกินทั้งพืชและสัตว์
5. สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว หรือเคลื่อนทีช้า หรือบางชนิดก็ไม่เคลื่อนที่เลย เช่นปะการัง,ฟองน้ำ เป็นต้น
6. สัตว์ส่วนมากจะมีระบบประสาท ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ต่าง ๆ ให้ทำงานประสานกัน หรือใช้รับความรู้สึก เมื่อมีสิ่งใดมาสัมผัส จึง สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้
7. สัตว์ส่วนมากจะมีโครงร่างแข็ง (Skeleton) เพื่อเป็นที่ยึดเกาะ ของกล้ามเนื้อ และทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในได้ด้วย เช่น ปู กุ้ง หอย เป็น ต้น
8. เนื้อเยื่อ และระบบต่าง ๆ จะซับซ้อนกว่าพืชมากและทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจง
9. หลังจากสืบพันธุ์หรือมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นจะมีระยะตัวอ่อน (Embryo) พักหนึ่ง
เกณฑ์เฉพาะในการจำแนกสัตว์
1. พิจารณาจากรูปแบบของสมมาตร
1.1 Asymemetry ไม่สมมาตร คือไม่สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วนที่เหมือนกันได้ เช่น อมีบา
1.2 Bilateral symmetry คือ สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วนที่เท่า ๆ กันได้
1.3 Radial symmetry สมมาตรในแนวรัศมี คือ สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสองส่วน ให้มีลักษณะเหมือนกันได้หลายแนว โดยตัดผ่านจุดศูนย์กลางตามแนว รัศมี เช่น ฟองน้ำบางชนิด แมงกะพรุน และดาวทะเล
1.4 Sperical หรือ Universal symmetry สามารถแบ่งร่างกายออกเป็นสอง ส่วนที่เหมือนกันได้ทุกระนาบโดยผ่านจุดศูนย์กลางเช่นกัน ได้แก่ Volvox

2. พิจารณาจากจำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ (Germ layer)
2.1 Diploblastica จะมีเนื้อเยื่อเพียงสองชั้นคือ เนื้อเยื่อชั้นนอก(ectoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน(endoderm)
2.2 Triploblastica จะมีเนื้อเยื่อ สามชั้น คือ มีเนื้อเยื่อชั้นกลางเพิ่มเข้ามาคือ Mesoderm ได้แก่ สัตว์จำพวกหนอนตัวแบนขึ้นไป

3. พิจารณาจากช่องว่างภายในลำตัว (coelom)
3.1 Acoelomate animal คือสัตว์ที่ไม่มีช่องว่างภายในลำตัวเช่น หนอนตัวแบน (Phylum Platyhelminthes)
3.2 Psudocoelomate animal (Psudocoelom) คือสัตว์ที่มีช่องว่างแบบ เทียม จะมีช่องว่างที่อยู่ระหว่าง เนื้อเยื่อชั้นนอกกับชั้นกลาง หรือเนื้อ เยื่อชั้นกลางกับชั้นใน เช่น หนอนตัวกลม (Phylum Nemathehelminthes)
3.3 Eucoelomate animal (True coelom) คือสัตว์ที่มีช่องว่างภายในลำ ตัวแบบแท้ เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลางแยกตัวออกไปเป็นช่อง เช่น ไส้เดือน ดิน และสัตว์ชั้นสูง เป็นต้น

4. พิจารณาจากการแบ่งส่วนลำตัวเป็นข้อปล้อง (Segmentation)
4.1 Non metameric คือแบ่งเป็นข้อปล้องเฉพาะภายนอก เกิดที่ลำตัวเท่า นั้น ไม่ได้เกิดตลอดทั้งตัว เช่น พยาธิตัวตืด,หนอนตัวกลม, เอคไคโน เดิร์ม และมอลลัสกา
4.2 Metameric คือแบ่งเป็นข้อปล้องอย่างแท้จริง โดยเกิดตลอดลำตัว เกิด จากเนื้อเยื่อชั้นกลาง เนื้อเยื่อชั้นอื่นจึงเกิดข้อปล้องไป ด้วย เช่น ไส้เดือนดิน กุ้ง ปู และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

5. พิจารณาจากการมีระบบเลือด
5.1 สัตว์ที่ยังไม่มีระบบเลือด เช่น ฟองน้ำ,ซีเลนเทอเรต, หนอนตัวแบนและ หนอนตัวกลม
5.2 สัตว์ที่มีระบบเลือดแบบวงจรเปิด เช่น อาร์โทรพอด, มอลลัสก์ และปลาดาว เป็นต้น
5.3 สัตว์ที่มีระบบเลือดแบบวงจรปิด เช่น ไส้เดือนดิน และสัตว์ชั้นสูง

6. พิจารณาจากลักษณะทางเดินอาหาร
6.1 ทางเดินอาหารแบบไม่แท้จริง (Channel network) เป็นเพียงช่องว่างแบบ ร่างแห เป็นเพียงทางผ่านของน้ำจากภายนอกเข้าสู่ลำตัว เช่น ฟองน้ำ
6.2 ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น